เรื่องที่น่าสนใจ

กรุงศรีอยุธยาของเรา คัดลอกจากหนังสือ กรุงศรีอยุธยาของเรา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน 2541. แต่งโดย รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม หนังสือเล่มนี้ เรียบเรียงโดยใช้ข้อมูลทางโบราณคดีและประวิติศาสตร์ซึ่งค้นพบใหม่อย่างกว้างขวาง ประกอบกับการศึกษาค้นคว้าและตีความใหม่อย่างรัดกุม ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ากรุงศรีอุยธยาไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างปาฎิหารย์โดยอำนาจเนรมิตของเทพยดา หากเกิดขึ้นมาอย่างมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาก่อน เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนาแล้ว กรุงศรีอยุธยาจึงมีกฎหมายและวรรณกรรม ตลอดถึงมีการสร้างสรรค์ศิลปกรรมรองรับอยู่พร้อมมูล ทั้งนี้เพราะสิ่งเหล่านี้สืบเนื่องมาจากสังคมเก่าที่มีมาก่อนนับร้อยๆ ปีนั้นเอง (คำกล่าวนำ โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ)

เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ เป็นกามโรค? คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 9 : กรกฎาคม 2537 บทความโดย อ. เทพมนตรี ลิมปพยอม บทความนี้เป็นบทความที่วิเคราะห์ถึงโรคที่เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ทรงประชวรจนไม่ได้ออกไปพบปะผู้ค้นเป็นเวลา 3 ปี มีบันทึกไว้ในเอกสารของทั้งทางไทย และทางฝรั่งในเรื่องนี้ไว้อย่างมากมาย ท่านทรงประชวรด้วยโรคใดกันแน่

วัดวรเชษฐาราม อยุธยา คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 9 : กรกฎาคม 2537 บทความโดย สุนีรัตน์ เจริญอรุณตระกูล บทความนี้เป็นประวัติของวัดวรเชษฐาราม ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่า สร้างบนที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระเอกาทศรถ กล่าวถึง ศิลปกรรมต่างๆ ของวัด และสิ่งน่าสนใจในวัด

บันทึการอภิปรายเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2532 คัดลอกจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 10 ฉบับที่ 6 : เมษายน 2532 ในการอภิปรายครั้งนี้ ได้มีการอัญเชิญพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการที่ทรงเป็นองค์ประธานในการอภิปรายในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีบันทึกการอภิปรายของ อาจารย์ พิริยะ ไกรฤกษ์ ในเรื่องศิลาจารึกหลักที่มีปัญหาหลักนี้ด้วย ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ยังไม่มีข้อยุติใดๆ ผู้จัดทำเพียงต้องการนำเสนอมุมมองของผู้ที่มีความเห็นที่แตกต่างกันเท่านั้น ขอให้ท่านผู้สนใจได้ช่วยกันพิจารณาในเรื่องนี้ด้วย และหากท่านมีข้อมูลเพิ่มเติม ขอได้โปรดจัดส่งให้ทางผู้จัดทำเพื่อที่จะได้นำลงไวในเว็บแห่งนี้ด้วย

เกร็ดความรู้คราวเสียกรุง คัดลอกจาก วารสารสยามอารยะ ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 ประจำเดือนเมษายน 2537 บทความโดย เทพมนตรี ลิมปพยอม บทความนี้ผู้เขียนบทความได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุแห่งการเสียกรุงที่แตกต่างจากที่เราเคยได้รับรู้มา อยุธยาอ่อนแอจริงหรือ พระเจ้าเอกทัศน์ลุ่มหลงมั่วเมาจริงหรือ นับเป็นมุมมองใหม่ในการวิเคราะห์เรื่องประวัติศาสตร์ไทยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน? คัดลอกจาก วารสารศิลปวัฒนธรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2543 บทความโดย ร.ศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ปัญหาที่ว่าสุวรรณภูมิอยู่ที่ไหนกันแน่เป็นปัญหาที่ยังไม่กระจ่าง ลองมาฟังความคิดเห็นของอาจารย์ศรีศักดิ์วิเคราะห์ในเรื่องนี้ดูซิว่า สุวรรณภูมิคือที่ใดกันแน่ และเป็นมาอย่างไร

ความอยู่รอดของพระพุทธศาสนา อุทาหรณ์จากสมัยอยุธยา คัดลอกจาก วารสารสยามอารยะ ปีที่ 2 ฉบับที่ 16 ประจำเดือนเมษายน 2537 บทความโดย ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ความเสี่ยงของพุทธศาสนาในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่ฝรั่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งในสยาม และพยามเผยแพร่ คริสตศาสนาให้ชาวสยาม แต่ทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่ ลองมาฟังความคิดเห็นของ ดร.กิ่งแก้ว ที่ได้ใช้หลักฐานจดหมายเหตุของต่างชาติในสมัยนั้น มาวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่พระพุทธศาสนาของสยามยงคงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

อักษรศิลป์และภาษาศิลป์ ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คัดลอกจาก วารสารศิลปวัฒนธรรม ปี่ที่ 20 ฉบับที่ 5 เดือนมีนาคม 2542 โดย เอื้อ มณีรัตน์ ข้อมูลเหตุผลอีกชิ้นหนึ่งที่มาแย้งความคิดของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ที่ว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของปลอม ลองอ่านดูนะครับว่ามีจุดไหนให้พิจารณากันบ้าง

ท้าวศรีสุดาจันทร์ แม่หยัวเมือง ใครว่าหล่อนชั่ว? คัดลอกจาก บทบรรณาธิการ วารสารศิลปวัฒนธรรม ปี่ที่ 20 ฉบับที่ 10เดือนสิงหาคม 2542 โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ จากพงศาวดารและข้อมูลที่เราได้รับรู้มาว่าท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นชั่วร้าย ฆ่าลูก ฆ่าผัว คบชู้ เป็นคนมักใหญ่ไฝ่สูง ลองอ่านบทความนี้แล้วความคิดท่านอาจจะเปลี่ยนไป สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้วิเคราะห์อีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ