วัดวรเชษฐาราม

โดย สุนีรัตน์ เจริณอรุณตระกูล

วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน กรกฏาคม 2537


ากใครเคยไปวัดวรเชษฐารามมาก่อนหน้านี้แล้วคงจะพบเห็นแต่ภาพสะเทือนใจที่คงเหลือไว้แต่วัชชพืชมากมายลุกลามปกคลุมไปทั่ว และความทรุดโทรมไปตามธรรมชาติและวัฒนธรรมชาติและกาลเวลา จนแทบมองไม่เห็นคุณค่าทางสถาปัตยกรรมหลงเหลืออยู่เลย

แต่วัดวรเชษฐารามในวันนี้ กลับงดงาม มิใช่เป็นแค่โบราณสถานที่รกร้างว่างเปล่าดูไร้ค่าอีกต่อไปภายหลังได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างจริงจังและตั้งใจของบริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งได้บริจาคเงินกว่า 2,000,000 บาท ผ่านกรมศิลปากร เพียงเพื่อจะมอบมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นหนึ่งให้กับแผ่นดิน และช่วยกะตุ้นจิตสำนึกปวงชนชาวไทยในการอนุรักษ์มรดกไทยเพื่อให้ลูกหลานมีโอกาสได้ชื่นชมต่อไป

วัดวรเชษฐาราม เป็นวัดสำคัญที่สุดวัดหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระราชวังโบราณในเขตกำแพงเมืองพระนครศรีอยุธยา

ในสมัยอยุธยา วัดนี้ตั้งอยู่ในชุมชนตลาดยอด แขวงขุนธรณีบาล ตัววัดตั้งอยู่บนที่สูงมีคูน้ำล้อมรอบ โดยด้านใต้ติดกับคลองฝางและวัดโลกยสุธา ด้านตะวันออกติดกับวัดระฆัง (วัดวรโพธิ์) ด้านตะวันตกและด้านเหนือคือบริเวณชุมชนตลาดยอด ปัจจุบันนี้อยู๋ในการปกครองตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวถึงวัดวรเชษฐาราม สรุปได้ความว่า เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2418 ได้ทรงแต่งเมรุถวายพระเพลิงพระศพพระเชษฐาธิราช แล้วสร้างอุทิศพระราชกุศลถวายวัดหนึ่งชื่อวัด (วรเชษฐ์) ทรงสร้างพระวิหาร พระพุทธรูป พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและหอพระธรรม แล้นิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมาครองวัดนี้

ความสำคัญของวัดวรเชษฐารามดังปรากฏในพระราชพงศาวดารคือ เป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมาหาราช และเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งวัดวรเชษฐารามที่พระนครศรีอยุธยามีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกอยู่ในเกาะเมือง แห่งที่สองอยู่นอกเมืองด้านทิศตะวันออก วัดทั้งสองแห่งเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เพราะลักษณะทางสถาปัตยกรรมทั้งสองก็มีอายุสมัยอยุธยาตอนกลางเช่นกัน ดังนั้นจะระบุให้ชัดเจนลงไปว่าวัดใดเป็นวัดที่ฝังพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น คงต้องหาหลักฐานสนับสนุนมากกว่านี้

อย่างไรก็ตาม มีเรื่องเล่ากันว่า เคยมีคนร้านลักลอบขุดกรุเจดีย์ประฐานวัดวรเชษฐาราม(ในเมือง) พบผอบบรรจุอัฐิมีพระพุทธรูปนาปรกล้อม ด้วยเห้ตที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพวันเสาร์ จึงเป็นหลักฐานชั้นหนึ่งที่ทำให้นักวิชาการกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า วัดวรเชษฐารามแห่งนี้ คือวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วัดวรเชษฐารามมีอายุเก่าแก่เกือบ 400 ปี เป็นวัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและโบราณคดี สมควรได้รับการอนุรักษ์เป็นมรดกของชาติ แต่การบูรณะโบราณสถานนั้น ถ้าขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ชำรุดทรุดโทรมลงมาอีกได้ ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกท่านที่ได้ไปเที่ยวชมวัดแห่งนี้ได้โปรดรักษาและอย่าทำลายสิ่งต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่เลยครับ

จุดเด็นสถาปัตยกรรมที่ยังปรากฏหลักฐานอยู่

  1. กำแพงวัดขนาด 88x88 เมตร มีประตูทางเข้าออกด้านหน้า 2 ประตู ด้านหลังหนึ่งประตู ตรงมุมหักของกำแพงไม่ก่อหัวเม็ด
  2. พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถ 5 ห้อง ปักด้วยใบเสมาโดยรอบทั้ง 8 ทิศ ตัวพระอุโบสถก่อฐานคว่ำรองรับผนัง ด้านหน้ามีทางเข้า 2 ประตู ด้านหลัง 1 ประตู พระพุทธรูปประธานมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งตรงกลางยังเหลือสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุกแต่พระเศียรหักลงมาแล้ว มีอาสน์สงฆ์ก่อด้วยอิฐชิดผนัง ด้านเหนือ หน้าบันพระอุโบสถมีร่องรอยการประดับด้วยถ้วยชาม แต่หลุดหลายไปเกือบหมดแล้ว หลังคาก็หักลงมาหมดแล้ว ส่วนของลายปูนปั้นยังคงเหลือบัวประดับเสาติดผนัง ด้านเหนือ หน้าบันพระอุโบสถมีร่องรอยการประดับด้วยถ้วยชาม แต่หลุดหายไปเกือบหมดแล้ว หลังคาก็หักลงหมดแล้ว ส่วนของลายปูนปั้นยังคงเหลือบัวประดับหัวเสาติดผนัง
  3. เจดีย์ประธาน มีการก่อสร้างซ้อนทับ สองครั้ง ครั้งแรกก่อฐานทักษิณเป็นฐานบัว 1 ชั้น มาลัยลูกแก้ว 3 ชั้น บัวกระจัง องค์ระฆังบัลลังก์สี่เหลี่ยมมีเสาวิหารรองรับส่วนยอดซึ่งทำเป็นบัวฝาละมี และมีปล้องไฉนตามลำดับ ส่วนปลียอดหักหายไป สำหรับครั้งที่ 2 เป็นการปฏิสังขรณ์ ครั้งนี้ เจดีย์ทั้งองค์ถูกก่อให้หนาขึ้น ฐานทักษัณทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนองค์เจดีย์ถูกห่อหุ้มตามระเบียบการก่อสร้างเดิม เป็นรุแบบของเจดีย์ทรงกลม
  4. วิหารหลวง ตั้งอย่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน มีหลักฐานว่าถูกก่อสร้างทับซ้อนถึง 3 ครั้ง แต่ล่ะครั้งเป็นการรื้ออาคารเดิมเพื่อสร้างใหม่ทั้งสิ้น ครั้งหลังสุดพระวิหารถูกก่อสร้างบนชาลา ลักษณะวิหารมีมุขหน้า หลัง ส่วนฐานก่อนฐานบัวคว่ำรองรับผนัง มีประตูทางเข้าออกเฉพาะเข้าออกด้านหน้า 2 ประตู ภายในวิหารหลวงด้านหลังก่อฐานยกระดับให้สูงขั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นหลายองค์ พระประธานมีขนาดใกล้เคียงกับพระประธานในพระอุโบสถ เศียรหายไปแล้ว
  5. เจดีย์ ฐานสิงห์ ตั้งอยู่ตรงมุมกำแพงวัด ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีเจดีย์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานทักษิณเดียวกัน มีบันไดทางขึ้นทิศตะวันตก องค์เจดีย์ชำรุดโดยส่วนบนหักหายไป ส่วนที่เหลือเป็นฐานสิงห์ซ้อนกัน 2 ชั้น

 

กลับไปหน้าแรก